เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
มจพ. รั้งอันดับ 8 ร่วมของไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก QS World University Rankings 2026
24 มิถุนายน 2568
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับการจัดอันดับโลก ในอันดับที่ 1201-1400 ของโลก และอันดับที่ 8 ร่วมของมหาวิทยาลัยไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ในรายการ QS World University Rankings 2026 โดยสถาบัน Quacquarelli Symonds (QS) ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2568 โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับการจัดอันดับโลกต่อเนื่องเป็นปีที่สาม ที่อันดับ 1201-1400 ของโลก โดยมีมหาวิทยาลัยทั่วโลกมากกว่า 1,500 มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการจัดอันดับ และอยู่ในอันดับที่ 8 ร่วมของไทย ร่วมกับ สจล. และ มทส. จากทั้งสิ้น 15 มหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับการจัดอันดับครั้งนี้ โดยอันดับ 1 คือ จุฬาฯ ที่อยู่ในอันดับ 221 ของโลก
การจัดอันดับ QS World University Rankings 2026 ใช้เกณฑ์การพิจารณาจากตัวชี้วัด 9 ด้าน คือ
ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation) (30%)
การอ้างอิงบทความวิจัย (Citations per Faculty) (20%)
การเป็นที่ยอมรับจากการจ้างงาน (Employer Reputation) (15%)
อัตราการจ้างงานบัณฑิต (Employment Outcomes) (5%)
สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (Faculty Student Ratio) (10%)
จำนวนอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio) (5%)
เครือข่ายการวิจัยนานาชาติ (International Research Network) (5%)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ (International Student Ratio) (5%)
ความยั่งยืน (Sustainability) (5%)
จากผลคะแนนตามรายตัวชี้วัดข้างต้นนั้น คะแนนตัวชี้วัดที่ มจพ. มีอันดับสูงที่สุด คือ การอ้างอิงบทความวิจัย (Citations per Faculty) และนับเป็นปีที่สามติดต่อกันของ มจพ. ที่ได้รับการจัดอันดับโลกรายการนี้ สะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนามหาวิทยาลัยรอบด้านอย่างต่อเนื่อง สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ดูข้อมูลอันดับมหาวิทยาลัยไทยได้ที่
https://www.topuniversities.com/world-university-rankings...
ดูข้อมูลจัดอันดับได้ที่
เว็บไซต์ QS
กาญจนา/ข่าว
พัทธนันท์/เผยแพร่