เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
หน้าแรก
>
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ_backup
ประวัติ_backup
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย
คณะกรรมการนโยบายและแผน
แผนภูมิโครงสร้างองค์กรตามการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
แผนภูมิโครงสร้างองค์กรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตามเขตการศึกษา
อำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
--
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
ปี พ.ศ. 2550
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานภายในสถาบัน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ดังนี้
1. ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นหน่วยงานภายในระดับภาควิชา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย - เยอรมัน เป็นหน่วยงานภายในระดับภาควิชา สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ ภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ” เป็นหน่วยงานภายในระดับภาควิชา สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2550
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานภายในสถาบัน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ดังนี้
1. ศูนย์ผลิตตำราเรียน เป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มีฐานะเทียบเท่างานในสำนักงานอธิการบดี
2. งานจัดสิทธิประโยชน์และเกื้อกูลบุคลากร เป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มีฐานะเทียบเท่างานในสำนักงานอธิการบดี
สภาสถาบันอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อภาควิชาการบริหารงานก่อสร้างและออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็น ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สภาสถาบันอนุมัติยกฐานะศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานระดับคณะภายในสถาบัน เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 550 - มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ" เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการศึกษาระดับศึกษาจะคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ
ปี พ.ศ. 2551
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2551 ให้หน่วยงานภายในระดับ คณะ วิทยาลัย สำนัก ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2528 และหน่วยงานภายในที่จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย ก่อนที่ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีจำนวนทั้งสิ้น 17 หน่วยงาน
สภามหาวิทยาลัยได้ประกาศใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ซึ่งได้มีการทบทวนบทบาทและภารกิจต่างๆ ของหน่วยงานระดับคณะและปรับเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ดังนี้
1. สำนักงานอธิการบดี มีการจัดตั้ง กองงานพัสดุ และมีการแบ่งหน่วยงานระดับงานที่ขึ้นตรงกับอธิการบดีเพิ่มขึ้น 1 หน่วยงาน คือ งานวิเทศสัมพันธ์
2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการเปลี่ยนชื่อภาควิชาให้สอดคล้องกับหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่
(1) เปลี่ยนชื่อ ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม เป็น ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์
(2) เปลี่ยนชื่อ ภาควิชาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ เป็น ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
(3) เปลี่ยนชื่อ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิต เป็น ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต
(4) เปลี่ยนชื่อ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็น ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ
3. สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มีการแบ่งหน่วยงานภายในเพิ่ม 2 หน่วยงานคือ ฝ่ายพลังงาน และศูนย์การเชื่อมแห่งประเทศไทยนอกจากนี้มีการเปลี่ยนชื่อฝ่ายให้สอดคล้องกับภารกิจ ได้แก่
(1) เปลี่ยนชื่อ ฝ่ายไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เป็น ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(2) เปลี่ยนชื่อ ฝ่ายส่งเสริมงานวิจัยและฝึกอบรม เป็น ฝ่ายวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี
4. สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการแบ่งหน่วยงานภายในเพิ่มขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ได้แก่
(1) ฝ่ายบริการวิชาการและส่งเสริมการวิจัย
(2) ฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวิศวกรรมระบบเครือข่าย
5. สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแบ่งหน่วยงานภายในเพิ่มขึ้น 1 หน่วยงานคือ ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
ปี พ.ศ. 2553
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง “คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ” เป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
ปี พ.ศ. 2545
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ ศูนย์บริการเทคโนโลยี สจพ . ปราจีนบุรี ” เป็นหน่วยงานภายในระดับ กองสังกัดสำนักงานอธิการบดี
เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ ” เป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2545 - สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” เป็นหน่วยงานภายในระดับกอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ปี พ.ศ. 2546
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ” เป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
ปี พ.ศ. 2548
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย - เยอมัน ” เป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2548
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
ปี พ.ศ. 2544
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานภายใน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ดังนี้
1. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานภายในระดับคณะ
2. กองงานสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานอธิการบดี
3. กองอาคารสถานที่และยานพาหนะ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ กองคลัง ” เป็นหน่วยงานภายในระดับกอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2544
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง “ ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา ” เป็นหน่วยงานภายในระดับกอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539)
ปี พ.ศ. 2536
สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย - ฝรั่งเศส เป็นหน่วยงานระดับคณะภายในสถาบัน เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2536
ปี พ.ศ. 2538
สถาบันได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคที่จังหวัดปราจีนบุรี ในนาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี มีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้นที่ สจพ . ปราจีนบุรี
ปี พ.ศ. 2539
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม และ สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2539
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534)
ปี พ.ศ. 2531
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า พระนครเหนือ ดังนี้
1. สำนักงานอธิการบดี ( เปลี่ยนจากสำนักงานรองอธิการบดี วิทยาเขตพระนครเหนือ )
2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ( เปลี่ยนชื่อจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ )
3. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ( จัดตั้งใหม่โดยยกฐานะภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ )
4. สำนักหอสมุดกลาง ( ยกฐานะจากงานห้องสมุด กองบริการการศึกษา )
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2531 มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานอธิการบดี ดังนี้
1. กองกลาง ( เปลี่ยนจากกองธุรการ )
2. กองกิจการนักศึกษา
3. กองแผนงาน
ปี พ.ศ. 2534
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529)
ปี พ.ศ. 2529
มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 โดยให้แยกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าออกเป็น สถานศึกษา 3 แห่ง เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานของแต่ละสถาบัน วิทยาเขตพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ" มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบุคลากรทำหน้าที่เป็นช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร ครูช่าง และผู้บริหารในสถาบันการศึกษา ธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งกองธุรการและกองบริการการศึกษา ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2529
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524)
ปี พ.ศ. 2524
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และสำนักพัฒนาเทคโนโลยีทาง การศึกษาเพื่อการศึกษาด้านเทคนิค
( สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษาในปัจจุบัน ) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519)
ปี พ.ศ. 2517
มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นส่วนราชการในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517
มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ จัดตั้งหน่วยงาน 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานรองอธิการบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514)
ปี พ.ศ. 2514
มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ให้รวมวิทยาลัยเทคนิค พระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกรมอาชีวศึกษาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็น สถาบันการศึกษาชั้นสูง และได้รับพระราชทานนามว่า
"สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า"
ให้เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2514 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษา ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการและ ส่งเสริมทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปะและ วัฒนธรรมของชาติ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 วิทยาเขต วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า
"สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ"
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509)
ปี พ.ศ. 2507
ในปี พ.ศ. 2507 ได้เปิดสอนในระดับที่สูงขึ้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนพระนครเหนือขึ้นเป็น “วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ” โดยยังได้รับความช่วยเหลือในด้านเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การศึกษาตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและทุนการศึกษาจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
ก่อนแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ปี พ.ศ. 2502
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง
โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ
สังกัดกรมอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตช่างฝีมือที่เน้นการปฏิบัติและประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม
"เทคนิคไทย - เยอรมัน"
ต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันฉบับแรก ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2502